ความสุขจาการใช้ ถุงยางอนามัย ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทนทรมาน กับปัญหาการเกิดผื่นแพ้พลาสเตอร์

ความสุขจาการใช้ ถุงยางอนามัย

ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทนทรมาน กับปัญหาการเกิดผื่นแพ้พลาสเตอร์

The happiness of using contraceptive condom in ESRD patient who suffers from skin reaction with adhesive plaster

โดย   วรรณา   ปานทุ่ง,  สุริยา  สาตราภัย

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลค่ายกาวิละ  มลฑลทหารบก ที่  33 จังหวัดเชียงใหม่

หลักการ และเหตุผล:         อาการผื่น ที่เกิดจากการแพ้พลาสเตอร์ เป็นอาการที่พบเห็นได้ในผู้ป่วยทั่วๆไป ที่มีการใช้พลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งหากเป็นการใช้พลาสเตอร์เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ก็อาจจะพออดทน ยอมรับได้ หรืออย่างมาก ก็เลือก ที่จะเปลี่ยนพลาสเตอร์ หรือ เลิกใช้ไป  แต่ในผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดโดยใช้ สายสวน Doublelumen  หรือ Perm doublelumen catheter :ซึ่งจำเป็นต้องสัมผัสกับพลาสเตอร์ อยู่ตลอดเวลา จะมีช่วงเว้นว่างอยู่บ้างก็ เพียง 4 ชั่วโมงระหว่างการฟอกเลือด หลังจากนั้นก็ต้องกลับมาติด พลาสเตอร์ อีกเพื่อป้องกันฝุ่น ป้องกันการติดเชื้อ และ เพื่อความสวยงาม  ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะมีปัญหาเรื่องอาการผื่นคัน ตามแนวของพลาสเตอร์ บางรายรุนแรงถึงกับมีอาการผิวหนังอักเสบ แสบ คัน หรือ ถึงขั้นติดเชื้อตามบริเวณดังกล่าว จึงนับเป็นความทุกข์ทรมานอย่างมากสำหรับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว และเป็นความลำบากใจสำหรับพยาบาลผู้ดูแล ที่จำเป็นจะต้องหาวิธีการแก้ปัญหาให้ เช่น เลือกพลาสเตอร์ที่มีปัญหาการแพ้น้อยมาใช้ เลี่ยงแนวติดพลาสเตอร์ออกไปจากตำแหน่งที่มีการแพ้  หายามาทาให้ ฯลฯ ซึ่งได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถไปทำการผ่าตัดต่อเส้นเลือด ทำ AV shunt ไปได้ก็หมดปัญหา  แต่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำได้  หรือ รอคิวการทำผ่าตัดที่ค่อนข้างยาว ทำให้ต้องยอมทนกับภาวะการแพ้พลาสเตอร์ต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

            ในศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลค่ายกาวิละเชียงใหม่ ก็ได้พยายามหาวิธีการต่างๆดังกล่าวข้างต้นมาดัดแปลงใช้กับผู้ป่วยของศูนย์ไตเทียมฯ ก็ได้ผลที่ไม่แตกต่างกันนัก  จึงได้รวมกลุ่มกัน ทำการศึกษา หาแนวทางแก้ไขปัญหาการแพ้พลาสเตอร์ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำไปปฏิบัติ ได้  อย่างจริงจัง  โดยอาศัยกระบวนการการทำการศึกษาแบบวิเคราะห์ วิจัย มาช่วย

Material and Method :    โดยทำการรวบรวมผู้ป่วยกลุ่มที่มีการใช้ สายสวน Double lumen catheter ทั้งชนิด ชั่วคราว (Tempolary catheter)  และ สายสวนแบบถาวร (Permanent) ที่มีการใช้พลาสเตอร์ปิดแผลอยู่เป็นประจำ แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการแพ้รุนแรง  และ กลุ่มที่มีอาการ ไม่รุนแรงมากนัก ทำการศึกษา ถึงสาเหตุการแพ้ ลักษณะการแพ้ ความรุนแรง ขนาดของแผล หรือผื่น ขนาดของ พลาสเตอร์ 

วัดพื้นที่พลาสเตอร์ วัดพื้นที่สัมผัส ของพลาสเตอร์ เพื่อหาความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันกับ อาการแพ้ ความรุนแรง ฯลฯ 

หาเหตุผล  และ เทคนิคการปิดแผลสำหรับแผล Perm cath ขึ้นใหม่  โดยศึกษาวิธีการปิดแผลแบบดั้งเดิมที่เคยทำกันมา ว่าจะมีวิธีใดที่สามารถลดขนาดของพลาสเตอร์ที่ปิดแผลลงได้  พร้อมทั้งสำรวจผลการใช้เทคนิคการทำแผลแบบต่างๆ

ศึกษาถึง ความรู้สึกพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการปิดแผลแบบใหม่

โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า

 ความรุนแรงของอาการแพ้ หรือผื่นแพ้พลาสเตอร์ สัมพันธ์กับ พื้นผิวสัมผัสระหว่างพลาสเตอร์กับผิวหนังของผู้ป่วย

ดังนั้นหากสามารถลดพื้นที่สัมผัสระหว่างผิวหนังกับพลาสเตอร์ลงได้ อาการแพ้รุนแรงน่าจะลดลงได้

เป้าหมายการศึกษา  : ลดพื้นที่สัมผัสระหว่างผิวหนัง  กับพลาสเตอร์ลงให้ได้ ประมาณ 50 %

                                  ลดขนาด  และ จำนวนพลาสเตอร์ลงให้ได้อย่างน้อย 50 %

ผลพลอยได้จาการศึกษา : หากสามารถ ลดขนาดและจำนวนพลาสเตอร์ รวมถึง จำนวนและขนาดของ ก๊อซปิดแผลลงได้ จะ ทำให้ ลดต้นทุนการทำแผล Perm cath ในผู้ป่วยไตวายลงได้  รวมถึง สามารถลด ขยะ  ลดการเผาทำลายขยะ เป็นเหตุให้ลดภาวะโลกร้อนลงได้

เทคนิคในการปิดแผล

  1. ลดจำนวน ก๊อซ ที่ใช้ปิดแผลตรงตำแหน่ง exit site ลง เพื่อจะได้สามารถลดขนาดของพลาสเตอร์ลงได้
  2. การพันเก็บสายส่งเลือดส่วนที่ต่อจาก exit site พยายามพันให้แน่นกระชับ เพื่อจะได้ใช้พลาสเตอร์ขนาดเล็กลงกว่าเดิม ปิดได้สนิท   แนวทางการปิดแผล
  3. หาวัสดุหุ้มห่อส่วนของสายสวน ดังกล่าวในข้อ 2  ที่มีความระคายเคืองน้อย  อ่อนนุ่ม สามารถป้องกันฝุ่น หรือความชื้นจากผิวหนัง  หรือ อาจป้องกันการเปียกชื้น จาก เหงื่อ หรือน้ำ ที่ผู้ป่วยเช็ดตัว ได้ระดับหนึ่ง  เช่นกระดาษสา, ถุงพลาสติก, กระดาษสังเคราะห์,  Condom
  4. ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจต้องพิจารณาหา ครีม  หรือ ยา ที่ช่วยลดอาการระคายเคืองมาใช้ร่วมด้วย

ผลการศึกษา

            พบว่า สารเหนียวที่ใช้ในการผลิตพลาสเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของ บริษัท 3 M ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีสังเคราะห์ กลุ่ม  โพลียูรีเทน  และ  สาร อะไครลิค  ซึ่งสารเคมีดังกล่าว มีความสามารถในการกระตุ้นกระบวนการแพ้  (Antigen antibody reaction Process) ได้  ซึ่งเป็นการกระตุ้นผ่าน Mast cell ใต้ผิวหนัง โดยที่cell ดังกล่าวมีลักษณะพิเศษคือมี ถุง (pocket) ขนาดเล็กที่บรรจุสาร histamine อยู่ เมื่อถูกกระตุ้น โดย สารเคมี  ความร้อน ความเย็น หรือ สารกระตุ้นต่างๆ (Allergen)  ก่อให้เกิดการหลั่งของสาร ฮีสตามีน ทำให้เกิดมีการขยายตัวของเส้นเลือดฝอยในบริเวณที่ถูกกระตุ้น มีการเคลื่อนที่เข้ามาของกลุ่มเม็ดเลือดขาว และมีการหลั่งของสาร Cytokinase และ สารเคมี มีพิษต่างๆ ในกระบวนการแพ้  ก่อให้เกิดปฏิกิริยา และกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกขนาดเล็กๆ บริเวณรอบๆจุดที่เกิดปฏิกิริยา ก่อให้เกิด อาการคัน  อาการบวมแดง  แสบ  ร้อน   ที่บริเวณดังกล่าวได้

            ในกลุ่มผู้ป่วยที่ทำการศึกษาพบว่ามีลักษณะของอาการผื่นแพ้พลาสเตอร์ ต่างๆกันไป ตั้งแต่ ผื่นแดง  ผื่นแดงและคัน  ผื่นแดงยกตัวเป็นขอบ  ผื่นยก ร่วมกับลักษณะผิวหนังแดง อักเสบ  ถลอก  มีเปียกแฉะ  และ ติดเชื้อ

ในการทำแผล Perm Double lumen catheter แบ่งเป็น สองส่วน คือ ส่วนของบริเณ exit site  และ บริเวณของสายส่งเลือด ในการศึกษานี้ได้ทำการเปรียบเทียบ พื้นที่ผิวสัมผัส ของการทำ Dressing Perm cath ระหว่างวิธี ดั้งเดิม กับวิธีที่นำ condom มาใช้ ดังตาราง ที่ 1

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบพื้นที่ผิวสัมผัส ระหว่างการทำ Dressing ด้วยวิธีดั้งเดิม กับเทคนิคที่นำ condom มาใช้

ผลพลอยได้ที่เกิดจากการใช้วิธีการปิดแผลแบบ Condom technique ทำให้ต้นทุนการทำ Dressing ลดลง ถึง  18.85% ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2

สรุปผลการทดลองใช้ Condom Technique

          พบว่ามีผู้ป่วย ESRD ในหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลค่ายกาวิละ ที่ ใช้ Perm DLC อยู่ประมาณ 48.64 % (54 คน)     ในผู้ป่วยกลุ่มนึ้ ประมาณ68.51% ใช้วิธีการ Dressing  แบบดั้งเดิม   แต่ภายหลังการทดลองใช้ condom technique ประมาณ  3 เดือนมีผู้ป่วย เกือบ ครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวเลือกขอใช้เทคนิคใหม่     ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ Perm ทั้งหมดในระหว่างการทำการทดลอง ได้ทำการสังเกตสภาพของ  Dressing แผล ที่กลับมาในครั้งต่อไป พบว่า กลุ่มที่ทำ Dressing ด้วย condom technique  89.79% กลับมาในสภาพเดิมไม่หลุดไม่กระจัดกระจาย เหมือนเมื่อใช้เทคนิคดั้งเดิม      

98.63% ของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวพบว่าสภาพผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ลักษณะของผื่นแดง และอาการ คันลดลง รอยแผลถลอก เนื่องจากการเกา ลดลง 89.26%     และพบ ว่า 78.66% อาการคันลดลง

ที่สำคัญคือผู้ป่วยทั้ง 100% ไม่พบปัญหาหนังถลอกหรือเกิดแผลเจ็บ ตามรอยพลาสเตอร์

  และจากการสังเกตภาวะการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจาก   Contamination โดยสังเกตจาก Exit site พบว่า 97% ไม่มีร่องรอยของการ บวมแดง/หรือ อาการติดเชื้อ ย้อนทางเข้าสู่ Perm catheter

จากการสำรวจความรู้สึกของผู้ป่วยหลังทดลองใช้ Condom Technique

        พบว่า 72.4 % มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น    พึงพอใจที่จะได้รับการทำแผลด้วยวิธีดังกล่าว ต่อไป       66.6 % ยินดีแนะนำต่อให้กับผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีปัญหาแบบเดียวกัน   ต่อความรู้สึกเขินอาย / หรือมีความรู้สึกตะขิดตะขวงในในการนำเอา Condom มาใช้ในการทำแผลที่หน้าอกพบว่า ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอับอายใด ๆ (67.85%)        63% รู้สึกว่าผิวหนังทีเคยเป็นผื่นคัน กลับดีขึ้นผื่นหายอาการคันลดลงมาก โดยรวมแล้ว 75% ของผู้ป่วยมีความสุขดีกับเทคนิคปิดแผลด้วย Condom Technique เหตุผลของการเกิดผื่นเป็นความเชื่อที่ก้ำกึ่ง ประมาณครึ่งต่อครึ่ง ที่เชื่อว่าการแพ้เป็นผลมาจาก ชนิดของพลาสเตอร์ และ      60% เชื่อว่า ขนาดของพลาสเตอร์ ทำให้มีปัญหาทำให้คัน

ข้อวิจารณ์

            ในการทดลองหาวิธีการในการทำแผลด้วย condom technique นี้ เกิดขึ้นจากการที่ทุกคนมองเห็นความไม่สะดวกสบาย ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยแล้วรู้สึกสงสาร และไม่วางเฉย จึงได้แปรมาเป็นการพยายามหาวิธีการแก้ปัญหา โดยการระดมความคิด ระดมความรู้ เท่าที่หาได้ รวมถึงความพยายามในการดัดแปลง ข้าวของเครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีอยู่ นำมาประยุกต์ใช้ โดยยังคงหลักการเดิมของการทำแผล นั่นคือความสะอาด  ความปราศจากเชื้อ เพื่อปกป้องแผลจากการปนเปื้อน การสัมผัสกับฝุ่นละออง และที่สำคัญ คือสวยงาม และอยู่คงทน อยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดช่วงเวลาที่อยู่ภายนอก ศูนย์ไตเทียม  จากการทดลองห่อหุ้มส่วนของสายส่งเลือด ด้วย วัสดุ เช่น

กระดาษ สา  พบว่า กระดาษสา นั้นอ่อนนุ่ม พอใช้ได้ แต่มีปัญหาเรื่องของการเปียกชื้น จากเหงื่อ หรือ จากการเช็ดตัวของผู้ป่วย จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้

ถุงพลาสติก หรือถุงปากซิป นั้นป้องกันน้ำ และ ฝุ่นได้  แต่มีปัญหา เรื่องความแข็ง ของถุงพลาสติก และขอบ

ที่ค่อนข้าง แหลมคม ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทนได้

กระดาษสังเคราะห์   เป็นวัสดุการแพทย์อีกชนิดหนึ่งที่ได้ทดลองนำมาใช้ โดยขอรับบริจาคจาก ห้องผ่าตัด โดยกระดาษดังกล่าว เป็นกระดาษสังเคราะห็ที่ไม่ได้เกิดจากากรถักทอ จึงไม่มีรูพรุนที่ น้ำหรือ เหงื่อจะซึมผ่านได้ ใช้ในการห่อวัสดุ หรือ อวัยวะเทียม เช่น ข้อเข่า  หรือ ข้อสะโพกเทียม (Moor   prosthesis) หรือ  กระดาษที่ในการห่อ เครื่องมือ หรือ set ผ่าตัด เพื่อส่งไปทำการ sterile  โดย autoclave  กระดาษดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ ของ 3M  แต่ไม่เหมาะในการนำมาใช้ในการทำ Dressing แผลดังกล่าว เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง  ในที่สุดจึงได้ข้อสรุปที่      

ถุงยางอนามัย ดังกล่าว เพราะมีความเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ เพราะ เบา  อ่อนนุ่ม ป้องกันความชื้น กระชับ และราคาถูก หรือในบางครั้งอาจสามารถขอรับบริจาคจากหน่วยงานสาธารณสุขได้ แต่ที่สำคัญคืออย่าขอรับบริจาคด้วยความถึ่ที่สูงเกินไป เพราะอาจถูกเข้าใจผิดได้จากบุคคลภายนอก

ถึงแม้ว่า การ dressing โดยวิธี condom technique จะสามารถตอบโจทก์ที่ต้องการได้ แต่ก็ยังไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาผื่นพลาสเตอร์ดังกล่าว แต่หลักการของการทำ dressing แบบใหม่นี้ อาจเป็นแนวทางในการทำ dressing  และ หาวัสดุอุปกรณ์ที่อาจมีความเหมาะสมกว่ามาใช้เพื่อความสุขสบายของผู้ป่วยต่อไป

                                       ด้วยความปร

ความสุขจาการใช้ ถุงยางอนามัย

ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ทนทรมาน กับปัญหาการเกิดผื่นแพ้พลาสเตอร์

The happiness of using contraceptive condom in ESRD patient who suffers from skin reaction with adhesive plaster

โดย   วรรณา   ปานทุ่ง,  สุริยา  สาตราภัย

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลค่ายกาวิละ  มลฑลทหารบก ที่  33 จังหวัดเชียงใหม่

หลักการ และเหตุผล:         อาการผื่น ที่เกิดจากการแพ้พลาสเตอร์ เป็นอาการที่พบเห็นได้ในผู้ป่วยทั่วๆไป ที่มีการใช้พลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งหากเป็นการใช้พลาสเตอร์เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ก็อาจจะพออดทน ยอมรับได้ หรืออย่างมาก ก็เลือก ที่จะเปลี่ยนพลาสเตอร์ หรือ เลิกใช้ไป  แต่ในผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดโดยใช้ สายสวน Doublelumen  หรือ Perm doublelumen catheter :ซึ่งจำเป็นต้องสัมผัสกับพลาสเตอร์ อยู่ตลอดเวลา จะมีช่วงเว้นว่างอยู่บ้างก็ เพียง 4 ชั่วโมงระหว่างการฟอกเลือด หลังจากนั้นก็ต้องกลับมาติด พลาสเตอร์ อีกเพื่อป้องกันฝุ่น ป้องกันการติดเชื้อ และ เพื่อความสวยงาม  ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะมีปัญหาเรื่องอาการผื่นคัน ตามแนวของพลาสเตอร์ บางรายรุนแรงถึงกับมีอาการผิวหนังอักเสบ แสบ คัน หรือ ถึงขั้นติดเชื้อตามบริเวณดังกล่าว จึงนับเป็นความทุกข์ทรมานอย่างมากสำหรับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว และเป็นความลำบากใจสำหรับพยาบาลผู้ดูแล ที่จำเป็นจะต้องหาวิธีการแก้ปัญหาให้ เช่น เลือกพลาสเตอร์ที่มีปัญหาการแพ้น้อยมาใช้ เลี่ยงแนวติดพลาสเตอร์ออกไปจากตำแหน่งที่มีการแพ้  หายามาทาให้ ฯลฯ ซึ่งได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถไปทำการผ่าตัดต่อเส้นเลือด ทำ AV shunt ไปได้ก็หมดปัญหา  แต่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำได้  หรือ รอคิวการทำผ่าตัดที่ค่อนข้างยาว ทำให้ต้องยอมทนกับภาวะการแพ้พลาสเตอร์ต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

            ในศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลค่ายกาวิละเชียงใหม่ ก็ได้พยายามหาวิธีการต่างๆดังกล่าวข้างต้นมาดัดแปลงใช้กับผู้ป่วยของศูนย์ไตเทียมฯ ก็ได้ผลที่ไม่แตกต่างกันนัก  จึงได้รวมกลุ่มกัน ทำการศึกษา หาแนวทางแก้ไขปัญหาการแพ้พลาสเตอร์ อย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำไปปฏิบัติ ได้  อย่างจริงจัง  โดยอาศัยกระบวนการการทำการศึกษาแบบวิเคราะห์ วิจัย มาช่วย

Material and Method :    โดยทำการรวบรวมผู้ป่วยกลุ่มที่มีการใช้ สายสวน Double lumen catheter ทั้งชนิด ชั่วคราว (Tempolary catheter)  และ สายสวนแบบถาวร (Permanent) ที่มีการใช้พลาสเตอร์ปิดแผลอยู่เป็นประจำ แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการแพ้รุนแรง  และ กลุ่มที่มีอาการ ไม่รุนแรงมากนัก ทำการศึกษา ถึงสาเหตุการแพ้ ลักษณะการแพ้ ความรุนแรง ขนาดของแผล หรือผื่น ขนาดของ พลาสเตอร์ 

วัดพื้นที่พลาสเตอร์ วัดพื้นที่สัมผัส ของพลาสเตอร์ เพื่อหาความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันกับ อาการแพ้ ความรุนแรง ฯลฯ 

หาเหตุผล  และ เทคนิคการปิดแผลสำหรับแผล Perm cath ขึ้นใหม่  โดยศึกษาวิธีการปิดแผลแบบดั้งเดิมที่เคยทำกันมา ว่าจะมีวิธีใดที่สามารถลดขนาดของพลาสเตอร์ที่ปิดแผลลงได้  พร้อมทั้งสำรวจผลการใช้เทคนิคการทำแผลแบบต่างๆ

ศึกษาถึง ความรู้สึกพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการปิดแผลแบบใหม่

โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า

 ความรุนแรงของอาการแพ้ หรือผื่นแพ้พลาสเตอร์ สัมพันธ์กับ พื้นผิวสัมผัสระหว่างพลาสเตอร์กับผิวหนังของผู้ป่วย

ดังนั้นหากสามารถลดพื้นที่สัมผัสระหว่างผิวหนังกับพลาสเตอร์ลงได้ อาการแพ้รุนแรงน่าจะลดลงได้

เป้าหมายการศึกษา  : ลดพื้นที่สัมผัสระหว่างผิวหนัง  กับพลาสเตอร์ลงให้ได้ ประมาณ 50 %

                                  ลดขนาด  และ จำนวนพลาสเตอร์ลงให้ได้อย่างน้อย 50 %

ผลพลอยได้จาการศึกษา : หากสามารถ ลดขนาดและจำนวนพลาสเตอร์ รวมถึง จำนวนและขนาดของ ก๊อซปิดแผลลงได้ จะ ทำให้ ลดต้นทุนการทำแผล Perm cath ในผู้ป่วยไตวายลงได้  รวมถึง สามารถลด ขยะ  ลดการเผาทำลายขยะ เป็นเหตุให้ลดภาวะโลกร้อนลงได้

เทคนิคในการปิดแผล

  1. ลดจำนวน ก๊อซ ที่ใช้ปิดแผลตรงตำแหน่ง exit site ลง เพื่อจะได้สามารถลดขนาดของพลาสเตอร์ลงได้
  2. การพันเก็บสายส่งเลือดส่วนที่ต่อจาก exit site พยายามพันให้แน่นกระชับ เพื่อจะได้ใช้พลาสเตอร์ขนาดเล็กลงกว่าเดิม ปิดได้สนิท   แนวทางการปิดแผล
  3. หาวัสดุหุ้มห่อส่วนของสายสวน ดังกล่าวในข้อ 2  ที่มีความระคายเคืองน้อย  อ่อนนุ่ม สามารถป้องกันฝุ่น หรือความชื้นจากผิวหนัง  หรือ อาจป้องกันการเปียกชื้น จาก เหงื่อ หรือน้ำ ที่ผู้ป่วยเช็ดตัว ได้ระดับหนึ่ง  เช่นกระดาษสา, ถุงพลาสติก, กระดาษสังเคราะห์,  Condom
  4. ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจต้องพิจารณาหา ครีม  หรือ ยา ที่ช่วยลดอาการระคายเคืองมาใช้ร่วมด้วย

ผลการศึกษา

            พบว่า สารเหนียวที่ใช้ในการผลิตพลาสเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของ บริษัท 3 M ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีสังเคราะห์ กลุ่ม  โพลียูรีเทน  และ  สาร อะไครลิค  ซึ่งสารเคมีดังกล่าว มีความสามารถในการกระตุ้นกระบวนการแพ้  (Antigen antibody reaction Process) ได้  ซึ่งเป็นการกระตุ้นผ่าน Mast cell ใต้ผิวหนัง โดยที่cell ดังกล่าวมีลักษณะพิเศษคือมี ถุง (pocket) ขนาดเล็กที่บรรจุสาร histamine อยู่ เมื่อถูกกระตุ้น โดย สารเคมี  ความร้อน ความเย็น หรือ สารกระตุ้นต่างๆ (Allergen)  ก่อให้เกิดการหลั่งของสาร ฮีสตามีน ทำให้เกิดมีการขยายตัวของเส้นเลือดฝอยในบริเวณที่ถูกกระตุ้น มีการเคลื่อนที่เข้ามาของกลุ่มเม็ดเลือดขาว และมีการหลั่งของสาร Cytokinase และ สารเคมี มีพิษต่างๆ ในกระบวนการแพ้  ก่อให้เกิดปฏิกิริยา และกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกขนาดเล็กๆ บริเวณรอบๆจุดที่เกิดปฏิกิริยา ก่อให้เกิด อาการคัน  อาการบวมแดง  แสบ  ร้อน   ที่บริเวณดังกล่าวได้

            ในกลุ่มผู้ป่วยที่ทำการศึกษาพบว่ามีลักษณะของอาการผื่นแพ้พลาสเตอร์ ต่างๆกันไป ตั้งแต่ ผื่นแดง  ผื่นแดงและคัน  ผื่นแดงยกตัวเป็นขอบ  ผื่นยก ร่วมกับลักษณะผิวหนังแดง อักเสบ  ถลอก  มีเปียกแฉะ  และ ติดเชื้อ

ในการทำแผล Perm Double lumen catheter แบ่งเป็น สองส่วน คือ ส่วนของบริเณ exit site  และ บริเวณของสายส่งเลือด ในการศึกษานี้ได้ทำการเปรียบเทียบ พื้นที่ผิวสัมผัส ของการทำ Dressing Perm cath ระหว่างวิธี ดั้งเดิม กับวิธีที่นำ condom มาใช้ ดังตาราง ที่ 1

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบพื้นที่ผิวสัมผัส ระหว่างการทำ Dressing ด้วยวิธีดั้งเดิม กับเทคนิคที่นำ condom มาใช้

ผลพลอยได้ที่เกิดจากการใช้วิธีการปิดแผลแบบ Condom technique ทำให้ต้นทุนการทำ Dressing ลดลง ถึง  18.85% ตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2

สรุปผลการทดลองใช้ Condom Technique

          พบว่ามีผู้ป่วย ESRD ในหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลค่ายกาวิละ ที่ ใช้ Perm DLC อยู่ประมาณ 48.64 % (54 คน)     ในผู้ป่วยกลุ่มนึ้ ประมาณ68.51% ใช้วิธีการ Dressing  แบบดั้งเดิม   แต่ภายหลังการทดลองใช้ condom technique ประมาณ  3 เดือนมีผู้ป่วย เกือบ ครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวเลือกขอใช้เทคนิคใหม่     ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ Perm ทั้งหมดในระหว่างการทำการทดลอง ได้ทำการสังเกตสภาพของ  Dressing แผล ที่กลับมาในครั้งต่อไป พบว่า กลุ่มที่ทำ Dressing ด้วย condom technique  89.79% กลับมาในสภาพเดิมไม่หลุดไม่กระจัดกระจาย เหมือนเมื่อใช้เทคนิคดั้งเดิม      

98.63% ของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวพบว่าสภาพผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ลักษณะของผื่นแดง และอาการ คันลดลง รอยแผลถลอก เนื่องจากการเกา ลดลง 89.26%     และพบ ว่า 78.66% อาการคันลดลง

ที่สำคัญคือผู้ป่วยทั้ง 100% ไม่พบปัญหาหนังถลอกหรือเกิดแผลเจ็บ ตามรอยพลาสเตอร์

  และจากการสังเกตภาวะการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจาก   Contamination โดยสังเกตจาก Exit site พบว่า 97% ไม่มีร่องรอยของการ บวมแดง/หรือ อาการติดเชื้อ ย้อนทางเข้าสู่ Perm catheter

จากการสำรวจความรู้สึกของผู้ป่วยหลังทดลองใช้ Condom Technique

        พบว่า 72.4 % มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น    พึงพอใจที่จะได้รับการทำแผลด้วยวิธีดังกล่าว ต่อไป       66.6 % ยินดีแนะนำต่อให้กับผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีปัญหาแบบเดียวกัน   ต่อความรู้สึกเขินอาย / หรือมีความรู้สึกตะขิดตะขวงในในการนำเอา Condom มาใช้ในการทำแผลที่หน้าอกพบว่า ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอับอายใด ๆ (67.85%)        63% รู้สึกว่าผิวหนังทีเคยเป็นผื่นคัน กลับดีขึ้นผื่นหายอาการคันลดลงมาก โดยรวมแล้ว 75% ของผู้ป่วยมีความสุขดีกับเทคนิคปิดแผลด้วย Condom Technique เหตุผลของการเกิดผื่นเป็นความเชื่อที่ก้ำกึ่ง ประมาณครึ่งต่อครึ่ง ที่เชื่อว่าการแพ้เป็นผลมาจาก ชนิดของพลาสเตอร์ และ      60% เชื่อว่า ขนาดของพลาสเตอร์ ทำให้มีปัญหาทำให้คัน

ข้อวิจารณ์

            ในการทดลองหาวิธีการในการทำแผลด้วย condom technique นี้ เกิดขึ้นจากการที่ทุกคนมองเห็นความไม่สะดวกสบาย ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยแล้วรู้สึกสงสาร และไม่วางเฉย จึงได้แปรมาเป็นการพยายามหาวิธีการแก้ปัญหา โดยการระดมความคิด ระดมความรู้ เท่าที่หาได้ รวมถึงความพยายามในการดัดแปลง ข้าวของเครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีอยู่ นำมาประยุกต์ใช้ โดยยังคงหลักการเดิมของการทำแผล นั่นคือความสะอาด  ความปราศจากเชื้อ เพื่อปกป้องแผลจากการปนเปื้อน การสัมผัสกับฝุ่นละออง และที่สำคัญ คือสวยงาม และอยู่คงทน อยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดช่วงเวลาที่อยู่ภายนอก ศูนย์ไตเทียม  จากการทดลองห่อหุ้มส่วนของสายส่งเลือด ด้วย วัสดุ เช่น

กระดาษ สา  พบว่า กระดาษสา นั้นอ่อนนุ่ม พอใช้ได้ แต่มีปัญหาเรื่องของการเปียกชื้น จากเหงื่อ หรือ จากการเช็ดตัวของผู้ป่วย จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้

ถุงพลาสติก หรือถุงปากซิป นั้นป้องกันน้ำ และ ฝุ่นได้  แต่มีปัญหา เรื่องความแข็ง ของถุงพลาสติก และขอบ

ที่ค่อนข้าง แหลมคม ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทนได้

กระดาษสังเคราะห์   เป็นวัสดุการแพทย์อีกชนิดหนึ่งที่ได้ทดลองนำมาใช้ โดยขอรับบริจาคจาก ห้องผ่าตัด โดยกระดาษดังกล่าว เป็นกระดาษสังเคราะห็ที่ไม่ได้เกิดจากากรถักทอ จึงไม่มีรูพรุนที่ น้ำหรือ เหงื่อจะซึมผ่านได้ ใช้ในการห่อวัสดุ หรือ อวัยวะเทียม เช่น ข้อเข่า  หรือ ข้อสะโพกเทียม (Moor   prosthesis) หรือ  กระดาษที่ในการห่อ เครื่องมือ หรือ set ผ่าตัด เพื่อส่งไปทำการ sterile  โดย autoclave  กระดาษดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ ของ 3M  แต่ไม่เหมาะในการนำมาใช้ในการทำ Dressing แผลดังกล่าว เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง  ในที่สุดจึงได้ข้อสรุปที่      

ถุงยางอนามัย ดังกล่าว เพราะมีความเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ เพราะ เบา  อ่อนนุ่ม ป้องกันความชื้น กระชับ และราคาถูก หรือในบางครั้งอาจสามารถขอรับบริจาคจากหน่วยงานสาธารณสุขได้ แต่ที่สำคัญคืออย่าขอรับบริจาคด้วยความถึ่ที่สูงเกินไป เพราะอาจถูกเข้าใจผิดได้จากบุคคลภายนอก

ถึงแม้ว่า การ dressing โดยวิธี condom technique จะสามารถตอบโจทก์ที่ต้องการได้ แต่ก็ยังไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาผื่นพลาสเตอร์ดังกล่าว แต่หลักการของการทำ dressing แบบใหม่นี้ อาจเป็นแนวทางในการทำ dressing  และ หาวัสดุอุปกรณ์ที่อาจมีความเหมาะสมกว่ามาใช้เพื่อความสุขสบายของผู้ป่วยต่อไป

                                       ด้วยความปรารถนาดี จาก ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลค่ายกาวิละ

ารถนาดี จาก ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลค่ายกาวิละ